นิรภัยภาคพื้น รร.นนก.

Blue Flower

การปฏิบัติตามมาตรฐานนิรภัยภาคพื้น

นิรภัยอุตสาหการ

๑.๑  การปฏิบัติงานกับออกซิเจนและไนโตรเจน

       ๑.๑.๑  จนท.ปฏิบัติงานต้องสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครอง
ความปลอดภัยส่วนบุคคล ได้แก่ หมวกนิรภัย แว่นตานิรภัยหรือ
กระบังหน้านิรภัย ถุงมือนิรภัย รองเท้านิรภัย และอุปกรณ์ป้องกันลำตัวที่เหมาะสม ฯลฯ

       ๑.๑.๒  รายการตามข้อ ๑.๑.๑ ต้องสะอาด ไม่เปรอะเปื้อนน้ำมัน ไข หรือหล่อลื่น

(รปป.ที่ กซภ.ชอ.๐๑-๐๐๑ ลง เม.ย.๒๕๖๒

เรื่อง ระเบียบการปฏิบัติงานเกี่ยวกับออกซิเจนและไนโตรเจน)

       ๑.๑.๓  มี รปป.หรือมาตรฐานนิรภัยที่เกี่ยวข้องสำหรับ

การปฏิบัติงาน และอบรมให้ความรู้แก่ จนท.อย่างต่อเนื่อง

๑.๒  การอัดก๊าซออกซิเจนและก๊าซไนโตรเจน

       ๑.๒.๑  ท่อที่มีอายุการใช้งานเกิน ๕ ปี หรือมีการหล่นกระแทกรุนแรงให้นำส่งตรวจ Hydrostatic Test ที่ ผผก.กซภ.ชอ.

       ๑.๒.๒  หากมีความดันภายในท่อเหลือน้อยกว่า 25 PSI

ห้ามอัดก๊าซโดยเด็ดขาด

       ๑.๒.๓  หากมีคราบไข หล่อลื่น หรือน้ำมัน ที่บริเวณร่างกาย

ผิวท่อ หรือวาล์ว ต้องล้างทำความสะอาดให้เรียบร้อยก่อนทำการ

อัดก๊าซ รวมทั้งก่อนนำไปบริการให้กับ อ.

       ๑.๒.๔  ห้ามอัดก๊าซเมื่อจำนวนท่อก๊าซน้อยกว่า ๔ ท่อ

เพราะจะทำให้ท่อเกิดความร้อน อาจเกิดอันตรายได้

       ๑.๒.๕  ขณะทำการอัดก๊าซ ก๊าซที่ค้างอยู่ในท่อต้องไม่มีกลิ่น

ก๊าซอื่นเจือปน (ก๊าซออกซิเจน และไนโตรเจนมีสภาพไร้สีและไร้กลิ่น)

       ๑.๒.๖  ท่อที่จะอัดก๊าซถ้าอยู่บน Cart ต้องเป็นขนาดความดันชนิดเดียวกันกับ Cart ห้ามทำการอัดก๊าซกับ Cart ที่ถูกดัดแปลงมาอย่างไม่ถูกต้อง

      ๑.๒.๗  ตรวจสภาพข้อต่อ ท่อทาง ราวอัดก๊าซ ต้องสะอาด
ไม่ชำรุดและขันแน่นทุกครั้ง

       ๑.๒.๘  การใช้งานสาย Flexible Hose ที่เป็น Teflon ในการบรรจุก๊าซต้องใช้ Heat Sink ในการระบายความร้อนสะสมที่ปลายสายก่อนเข้าสู่ท่อก๊าซ โดย Heat Sink ต้องทำจากวัสดุทองเหลือง

 

       ๑.๒.๙  การใช้งานสาย Flexible Hose ควรมีการเปลี่ยนทุก ๆ ๕ ปี

       ๑.๒.๑๐  ขณะบรรจุก๊าซต้องมี จนท.ปฏิบัติงานอย่างน้อย ๒ คน

       ๑.๒.๑๑  จนท.ปฏิบัติงานจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่ระบุไว้ในคู่มือการอัดก๊าซของแผนกผลิตก๊าซอย่างเคร่งครัด

(รปป.ที่ กซภ.ชอ.๐๑-๐๐๑ ลง เม.ย.๒๕๖๒

เรื่อง ระเบียบการปฏิบัติงานเกี่ยวกับออกซิเจนและไนโตรเจน)

๑.๓  การเก็บรักษาท่อบรรจุก๊าซออกซิเจนและก๊าซไนโตรเจน

       ๑.๓.๑  เก็บท่อก๊าซห่างจากประกายไฟ ๕๐ ฟุต ห่างจากเชื้อเพลิง ไข หรือหล่อลื่น ๑๐๐ ฟุต

       ๑.๓.๒  ห้ามนำก๊าซอื่นมาบรรจุในท่อออกซิเจน หรือไนโตรเจน

โดยเด็ดขาด การบรรจุต้องเป็นไปตามที่ระบุไว้

       ๑.๓.๓  ห้ามเก็บท่อก๊าซรวมกับก๊าซไวไฟ หรือวัสดุอื่นที่เป็นเชื้อเพลิงทุกชนิด

       ๑.๓.๔  เก็บท่อก๊าซไว้ในที่ร่มเสมอ ห้ามเก็บท่อก๊าซบริเวณ

ป่าหญ้ารกที่เปียกชื้น หรือยางแอสฟัลท์

       ๑.๓.๕  ห้ามนำท่อก๊าซสัมผัสกับอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือวางไว้

ใต้อุปกรณ์ไฟฟ้า

       ๑.๓.๖  ตั้งท่อก๊าซให้มั่นคง มีฝาครอบทุกครั้ง และยึดตรึงกันล้มตลอดเวลา

(รปป.ที่ กซภ.ชอ.๐๑-๐๐๑ ลง เม.ย.๒๕๖๒
เรื่อง ระเบียบการปฏิบัติงานเกี่ยวกับออกซิเจนและไนโตรเจน)

๑.๔  การเก็บรักษาออกซิเจนเหลว และไนโตรเจนเหลว

       ๑.๔.๑  ทำการบรรจุออกซิเจนเหลว หรือไนโตรเจนเหลว

ในถังบรรจุซึ่งออกแบบมาเพื่อการเฉพาะ

       ๑.๔.๒  ถังบรรจุออกซิเจนเหลว หรือไนโตรเจนเหลว ต้องตั้งวางในที่ร่ม (หลีกเลี่ยงแสงแดด) อากาศถ่ายเทสะดวก

       ๑.๔.๓  ตั้งถังบรรจุออกซิเจนเหลว หรือไนโตรเจนเหลว

อย่างแข็งแรงมั่นคงมีรั้วโดยรอบ มีป้ายบอกข้อห้าม คำเตือน

ข้อควรระวังและวิธีการปฏิบัติที่ปลอดภัยในการใช้งาน โดยติดตั้ง

ในบริเวณที่มองเห็นได้ชัดเจน

       ๑.๔.๔  ห้ามเก็บถังบรรจุออกซิเจนเหลว หรือไนโตรเจนเหลว

บริเวณพื้นที่เป็นยางแอสฟัลท์

       ๑.๔.๕  บริเวณที่เก็บถังบรรจุออกซิเจนเหลว หรือไนโตรเจนเหลว

ต้องห่างจากวัตถุที่ติดไฟง่าย แหล่งกำเนิดไฟ บริเวณที่สูบบุหรี่

บริเวณที่มีการจราจรหนาแน่นและบริเวณที่เครื่องจักรทำงาน

อย่างน้อย ๕๐ ฟุต

       ๑.๔.๖  บริเวณที่เก็บถังบรรจุออกซิเจนเหลว หรือไนโตรเจนเหลว

ต้องห่างจากบริเวณที่จอดอากาศยาน บริเวณที่เติมหรือถ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง อย่างน้อย ๗๕ ฟุต

       ๑.๔.๗  ตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์นิรภัยที่ถังบรรจุออกซิเจนเหลว หรือไนโตรเจนเหลว ให้พร้อมใช้งาน และมีอุปกรณ์ดับเพลิงอยู่บริเวณใกล้เคียงตลอดเวลา

(รปป.ที่ กซภ.ชอ.๐๑-๐๐๑ ลง เม.ย.๒๕๖๒
เรื่อง ระเบียบการปฏิบัติงานเกี่ยวกับออกซิเจนและไนโตรเจน)

๑.๕  ชุดป้องกันสาร Hydrazine

       ๑.๕.๑  ห้ามสวมใส่ชุดป้องกันสาร Hydrazine ที่ผ่านการ

ใช้งานแล้วและยังไม่ได้ทำความสะอาด

๑.๕  ชุดป้องกันสาร Hydrazine (ต่อ)

       ๑.๕.๒  ต้องสวมเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวก่อนสวมชุดป้องกันสาร Hydrazine แล้วรูดซิปปิดให้เรียบร้อย

       ๑.๕.๓  ไม่สวมใส่เครื่องประดับและอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น สร้อยคอ แหวน นาฬิกาข้อมือ เป็นต้น เพื่อป้องกันไม่ให้ชุดป้องกันสาร Hydrazine ชำรุดเสียหายจากอุปกรณ์ดังกล่าว

       ๑.๕.๔  ก่อนสวมชุดป้องกันสาร Hydrazine จะต้องสวมถุงเท้าและรองเท้าบู๊ทยางให้เรียบร้อย โดยให้ปลายขากางเกงสวมคลุมทับรองเท้าบู๊ทยางให้มิดชิด และห้ามยัดปลายขากางเกงเข้าไปในรองเท้า

บู๊ทยางเด็ดขาด เพราะสารเคมีอาจไหลลงไปในรองเท้าบู๊ทยางได้

       ๑.๕.๕  เก็บในสถานที่ที่อากาศเย็นและแห้ง แสงแดดส่องไม่ถึง

       ๑.๕.๖  เก็บในพื้นที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ เพื่อให้สามารถตรวจสอบสภาพภายนอกว่ามีรอยรั่ว รอยตัด หรือรอยถลอก หรือไม่

       ๑.๕.๗  ถุงมือทั้งสองข้างมีสภาพพร้อมใช้งาน โดยด้านใน

และด้านนอกไม่มีสภาพชำรุด

(แจ้งความวิทยาการ ชอ.บนอ. เลขที่ ๔๑/๔๘ ลง ๒๑ เม.ย.๔๘ 

เรื่อง การใช้งานและการบำรุงรักษาชุดป้องกันสาร Hydrazine)

๑.๖  การประจุแบตเตอรี่

       ๑.๖.๑  ห้ามสูบบุหรี่หรือนำเปลวไฟเข้าใกล้แบตเตอรี่ ในขณะ

ทำการประจุไฟหรือขณะใช้งาน

       ๑.๖.๒  ควรสวมผ้ากันกรด ถุงมือยาง และแว่นตาพิเศษป้องกันน้ำกรด

       ๑.๖.๓  การต่อวงจรแบตเตอรี่ควรใช้เครื่องมือหุ้มฉนวน

ก่อนปฏิบัติงาน และควรถอดเครื่องประดับที่เป็นโลหะ

       

๑.๖  การประจุแบตเตอรี่ (ต่อ)

       ๑.๖.๔  มี รปป.หรือมาตรฐานนิรภัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในการประจุแบตเตอรี่แบบตะกั่วกรด ชนิดนิคเกิลแคดเมี่ยม

หรือซิลเวอร์ซิงค์ และอบรมให้ความรู้แก่ จนท.อย่างต่อเนื่อง

       ๑.๖.๕  สถานที่เก็บหรือประจุแบตเตอรี่ พื้นห้องสะอาด แห้ง

ระบายอากาศได้ดี มีวัสดุกันกรดทาที่พื้น และชั้นวางแบตเตอรี่

       ๑.๖.๖  การจัดเก็บแบตเตอรี่ชนิดนิคเกิลแคดเมี่ยม

หรือซิลเวอร์ซิงค์ แยกไว้ต่างหากจากแบตเตอรี่แบบตะกั่วกรด

(คู่มือแนวการตรวจสำรวจนิรภัยภาคพื้น สนภ.ทอ.ลง ๑๐ เม.ย.๕๑)

๑.๗  ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

       ๑.๗.๑  สถานที่ที่ทำการพิมพ์แบบ พิมพ์เขียว หรือการถ่ายเอกสาร รวมทั้งใช้เครื่องพิมพ์มัลติฟังก์ชั่น จัดให้มีการระบายอากาศที่ดี รวมทั้ง

มีอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่จำเป็นและเหมาะสม เช่น อุปกรณ์ป้องกันมือและอุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น

(แนวทางการควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตาม

พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับปรับปรุง))

       ๑.๗.๒  ผบช.ต้องจัดให้มีและดูแลให้ จนท.ปฏิบัติงานสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ได้มาตรฐานและเหมาะสม

กับลักษณะงาน

       ๑.๗.๓  จนท.ปฏิบัติงานเกี่ยวกับ แสงสว่าง เสียง การสั่นสะเทือน สารเคมี ความร้อน ความเย็น ความดันบรรยากาศ ที่อับอากาศ

มลพิษ กลิ่น ควัน ไอระเหย ฝุ่นละออง รวมทั้งสภาพแวดล้อมในการทำงานอื่น ๆ ที่อาจทำให้ได้รับอันตราย จะต้องสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน และจะต้องดูแลรักษาอุปกรณ์ฯ ให้สามารถใช้งานได้ดีตลอดเวลา