นิรภัยภาคพื้น รร.นนก.

Blue Flower

 

การปฏิบัติตามมาตรฐานนิรภัยภาคพื้น เรียบร้อย ควรปรับปรุง ปรับปรุงแล้ว หมายเหตุ

นิรภัยการจราจร

๖.๑  การทำหน้าที่พลขับรถ

       ๖.๑.๑  การให้ทหารกองประจำการทำหน้าที่พลขับรถต้องให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาคัดเลือกทหารกองประจำการเฉพาะผู้ที่มีความประพฤติเหมาะสม มีใบอนุญาตขับขี่ของทางราชการและมีความชำนาญในการขับรถ

       ๖.๑.๒  คำสั่งให้นายทหารประทวนและทหารกองประจำการทำหน้าที่พลขับรถชั่วคราวต้องกระทำเป็นลายลักษณ์อักษร

       ๖.๑.๓  ผู้มีอำนาจออกคำสั่งให้นายทหารประทวนและทหารกองประจำการ ทำหน้าที่พลขับรถชั่วคราวได้แก่ ผู้บังคับบัญชาตำแหน่งชั้นผู้บังคับกองพัน ผู้บังคับการเรือ ชั้น ๑ ผู้บังคับฝูงบินหรือเทียบเท่าขึ้นไป ผู้บังคับบัญชาหน่วยอิสระตำแหน่งชั้นผู้บังคับกองร้อย ผู้บังคับการเรือชั้น ๓ ต้นเรือชั้น ๒ ผู้บังคับหมวดบินชั้น ๒ หรือเทียบเท่าขึ้นไป

      1

      1

 

 

1

     

        ๖.๑.๔  ผู้มีสิทธิขับรถยนต์ทหารต้องมีใบอนุญาตพิเศษสำหรับขับรถยนต์ทหาร และต้องแต่งเครื่องแบบในขณะขับรถยนต์ทหารที่ใช้ป้ายทะเบียนมีเครื่องหมายพิเศษและเลขทะเบียนทหาร(คำสั่ง ทอ.(เฉพาะ) ที่ ๓๘๘/๓๓ ลง ๔ ธ.ค.๓๓ เรื่อง ผู้มีสิทธิขับรถยนต์ทหาร)
๖.๒  ยานพาหนะของทางราชการ

       ๖.๒.๑  ในพื้นที่พิเศษเฉพาะต้องมีการกำหนด รปป.เกี่ยวกับยานพาหนะทุกประเภท
       ๖.๒.๒  มีการปรนนิบัติบำรุงยานพาหนะตามระยะเวลา หรือระยะทางที่กำหนดตามระเบียบ คำสั่ง คำแนะนำอื่น ๆ หรือตามคู่มือรถโดยลงบันทึกในสมุดประวัติรถยนต์ทหารอากาศ (ทอ. ขส. ๐๖๖)

 

1

 

 

1

 

1

 

     

        ๖.๒.๓  ผู้ขับขี่รถยนต์ทหารต้องมีสภาพร่างกายและจิตใจพร้อมที่จะขับขี่ได้อย่างปลอดภัย
       ๖.๒.๔  มีการอบรมชี้แจงและกวดขันพลขับรถเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎจราจร ระเบียบ ข้อบังคับ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องโดยให้บันทึกหลักฐานการอบรม ชื่อและเรื่องที่อบรมไว้เป็นหลักฐาน(คู่มือแนวการตรวจสำรวจนิรภัยภาคพื้น สนภ.ทอ.ลง ๑๐ เม.ย.๕๑)
๖.๓  การขับขี่ยานพาหนะ

       ๖.๓.๑  ผู้ขับขี่ยานพาหนะได้ปฏิบัติตามสัญญาณจราจร และเครื่องหมายจราจรที่ได้ติดตั้งไว้หรือทำให้ปรากฏในทาง หรือพนักงานเจ้าหน้าที่แสดงให้ทราบอย่างถูกต้องครบถ้วน
       ๖.๓.๒  ผู้ขับขี่รถยนต์ที่บรรทุกสิ่งของต้องมีการป้องกันของตกหล่น รั่วไหล ส่งกลิ่น ส่องแสงสะท้อน หรือปลิวออกจากรถ
       ๖.๓.๓  ผู้ขับยานพาหนะขี่ขับตามอัตราความเร็วที่กำหนดและลดความเร็วเมื่อเข้าใกล้ทางร่วมทางแยก ทางข้าม เส้นให้รถหยุด และวงเวียน
       ๖.๓.๔  ผู้ขับขี่รถยนต์และผู้ที่นั่งตอนหน้าแถวเดียวกับผู้ขับขี่ต้องคาดเข็มขัดนิรภัย
       ๖.๓.๕  ผู้ขับขี่และผู้โดยสารรถจักรยานยนต์ สวมหมวกนิรภัยพร้อมรัดสายรัดคาง และเปิดไฟหน้ารถขณะขับขี่(พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.๒๕๒๒)

๖.๔  จนท.สห.ทอ.และ จนท.อย.ที่ปฏิบัติหน้าที่รักษาการณ์ตามจุดรักษาการณ์ ต้องสวมเสื้อสะท้อนแสงขณะปฏิบัติหน้าที่ทุกครั้ง

(ตามอนุมัติ ผบ.ทอ.เมื่อ ๓๑ ก.ค.๔๙ ท้ายหนังสือ จร.ทอ.ที่ กห ๐๖๐๘.๔/๙๓๐ ลง ๒๔ ก.ค.๔๙ เรื่อง แนวทางการสวมหมวกนิรภัยและการใส่เสื้อสะท้อนแสงสำหรับ จนท.สห.ทอ.)

 

       
 ๖.๕  ทางที่ใช้ในการจราจรบนถนนปกติ

       ๖.๕.๑  สภาพของทางเดินรถ ช่องทางเดินรถ ไหล่ทางทางร่วมทางแยก ทางลาด ทางโค้ง สะพาน และพื้นที่บุคคลทั่วไปที่ใช้ในการจราจรมีสภาพปลอดภัย

       ๖.๕.๒  ทางร่วมทางแยกมีเครื่องหมายจราจรที่กำหนดไว้อย่างชัดเจนและไม่มีสิ่งบดบังสายตา

       ๖.๕.๓  ทางเท้าสำหรับคนเดินมีสภาพที่ปลอดภัย

       ๖.๕.๔  ทางข้ามมีเครื่องหมายจราจรบนพื้นทางพร้อมกับเครื่องหมายจราจรประเภทเตือนติดตั้งให้เห็นชัดเจน เหมาะสมและปลอดภัย

(พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.๒๕๒๒)

๖.๖  สัญญาณและเครื่องหมายจราจร

       ๖.๖.๑  สัญญาณไฟจราจรที่ติดตั้งต้องแสดงให้เห็นได้ชัดเจน เพื่อให้ผู้ขับขี่สามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

       ๖.๖.๒  โคมสัญญาณไฟทุกชนิดที่ติดตั้ง ต้องมีครบถ้วน ถูกต้อง และอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ตลอดเวลา

       ๖.๖.๓  เครื่องหมายจราจรที่ได้ติดตั้งไว้มีความชัดเจนเหมาะสม

และถูกต้องตามชนิดหรือประเภทที่กฎหมายกำหนด

       ๖.๖.๔  เครื่องหมายจราจรอยู่ในระยะที่มองเห็นได้ชัดเจน เหมาะสม และไม่มีสิ่งบดบังสายตา

       ๖.๖.๕  สัญญาณจราจรจากพนักงานเจ้าหน้าที่ที่แสดงให้เห็นด้วยมือและแขนเป็นลักษณะท่าทางถูกต้องตามกฎหมายกำหนด(พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.๒๕๒๒)

๖.๗  ยานพาหนะที่นำมาใช้ในเส้นทาง

       ๖.๗.๑  ยานพาหนะที่นำมาใช้งานมีสภาพมั่นคงแข็งแรงและปลอดภัย

       ๖.๗.๒  อุปกรณ์และส่วนควบในรถยนต์และรถจักรยานยนต์มีครบถ้วนและอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน